ผู้อพยพมีสิทธิ์ยื่นขอสัญชาติได้ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในท้องที่ (☎1345) หากผ่านเกณฑ์คุณสมบัติต่อไปนี้
เนื่องจากต้องผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนด ผู้อพยพจึงควรขอคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่แปลงสัญชาติและจัดเตรียมเอกสารหลักฐานให้ครบถ้วน .
①ผู้ยื่นคำร้องต้องพำนักอาศัยอยู่ในประเทศเกาหลีมานานอย่างน้อยห้าปี
②ผู้ยื่นคำร้องที่มีบิดาหรือมารดาเป็นพลเมืองเกาหลีหรือที่บิดามารดาเกิดในประเทศเกาหลีต้องพำนักอาศัยอยู่ในประเทศเกาหลีมานานอย่างน้อยสามปี
③ ผู้ยื่นคำร้องต้องพำนักอาศัยอยู่ในประเทศเกาหลีติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปีขณะที่สมรสกับคู่สมรสชาวเกาหลี
④ บิดาหรือมารดาของผู้ยื่นคำร้องเป็นพลเมืองเกาหลี
※ กรณีที่บิดาหรือมารดาของผู้ยื่นคำร้องได้รับสัญชาติเกาหลี ผู้ยื่นคำร้องสามารถยื่นใช้สิทธิขอเข้าขั้นตอนแปลงสัญชาติพิเศษได้โดยไม่เกี่ยงอายุ สถานภาพสมรส และระยะเวลาที่พำนักอาศัย
⑤ ผู้ยื่นคำร้องอุดหนุนเงินช่วยเหลือเป็นพิเศษแก่สาธารณรัฐเกาหลี
① ผู้อพยพตามคู่สมรสได้พำนักอาศัยอยู่ในประเทศเกาหลีติดต่อกันนานอย่างน้อย 2 ปีนับจากขึ้นทะเบียนแรงงานต่างชาติ
② ผู้อพยพตามคู่สมรสได้พำนักอาศัยอยู่ในประเทศเกาหลีติดต่อกันนานอย่างน้อย 1 ปีขณะที่สมรสมาแล้ว 3 ปีขึ้นไป
③ ผู้อพยพตามคู่สมรสรักษาสิทธิ์พำนักอาศัยในประเทศเกาหลีมาเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปีแต่ไม่สามารถรักษาสถานภาพสมรสไว้ได้เนื่องจากคู่สมรสชาวเกาหลีเสียชีวิตหรือหายสาบสูญหรือสาเหตุอื่นที่ไม่ได้เกิดจากตัวเอง
④ ผู้อพยพตามคู่สมรสเลี้ยงหรือจำเป็นต้องเลี้ยงบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะที่เกิดจากการสมรสกับคู่สมรสชาวเกาหลี
① การส่งใบขอแปลงสัญชาติและเอกสารหลักฐาน
-ใบขอแปลงสัญชาติต้องจัดทำที่สำนักงานบริการตรวจคนเข้าเมืองเกาหลีที่รับผิดชอบงานแปลงสัญชาติเท่านั้น ฝ่ายคู่สมรสชาวเกาหลีต้องไปแสดงตัวที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในท้องที่เพื่อยื่นใบคำร้องด้วยเช่นกัน
② การอนุมัติการแปลงสัญชาติ
เมื่อได้รับหนังสือแจ้งแปลงสัญชาติจากกระทรวงยุติธรรม ผู้อพยพต้องจดทะเบียนความสัมพันธ์ในครอบครัว สละสัญชาติเดิม จดทะเบียนบ้าน และคืนบัตรทะเบียนแรงงานต่างชาติ
③ การคัดกรองคุณสมบัติและการสัมภาษณ์
• ผู้ยื่นคำร้องต้องผ่านการตรวจสอบเอกสาร การตรวจสอบภาคสนาม และการสัมภาษณ์ ขั้นตอนนี้ส่วนใหญ่ใช้เวลานานกว่าหนึ่งปี
• เนื่องจากตามปกติผู้ยื่นคำร้องจะได้รับหนังสือแจ้งภายใน 2 ถึง 4 สัปดาห์ก่อนการสัมภาษณ์ ผู้ยื่นคำร้องจึงต้องแจ้งให้สำนักงานบริการตรวจคนเข้าเมืองเกาหลีทราบที่อยู่ใหม่หากมีการย้ายที่อยู่หลังจากยื่นใบคำร้อง
• ผู้อพยพตามคู่สมรสได้รับการยกเว้นการสอบข้อเขียน แต่จะต้องเข้ารับการสอบสัมภาษณ์เพื่อวัดระดับความสามารถทางภาษาเกาหลีและความรู้พื้นฐานเพื่อรับสัญชาติเกาหลี
•ผู้ยื่นคำร้องที่สอบไม่ผ่านในการสัมภาษณ์ครั้งแรกมีโอกาสสอบซ่อมสัมภาษณ์ได้อีกสองครั้ง
④ การจดทะเบียนความสัมพันธ์ในครอบครัว
• ผู้อพยพตามคู่สมรสต้องจดทะเบียนความสัมพันธ์ในครอบครัวกับเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานปกครอง (ศาลากลาง สำนักงานเขต หรือสำนักงานเทศบาลเมือง) ภายในหนึ่งเดือนนับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งแปลงสัญชาติ .
• ต้องแสดงหนังสือแจ้งแปลงสัญชาติและบัตรทะเบียนแรงงานต่างชาติในการจดทะเบียนความสัมพันธ์ในครอบครัว
⑤ การสละสัญชาติต่างประเทศ
• ผู้อพยพต้องสละสัญชาติต่างประเทศของตนที่สถานทูตของประเทศตนภายในหนึ่งปีหลังจากได้รับอนุมัติให้แปลงสัญชาติ จากนั้นยื่นหนังสือรับรองการสละสัญชาติที่ออกโดยสถานทูตให้สำนักงานบริการตรวจคนเข้าเมืองเพื่อรับหนังสือรับรองการสละสัญชาติต่างประเทศ
• หากผู้อพยพไม่ได้รับหนังสือรับรองการสละสัญชาติภายในระยะเวลาที่กำหนด สัญชาติเกาหลีที่ได้รับจะถูกยกเลิกโดยปริยาย
• กรณีที่ผู้อพยพไม่สามารถขอหนังสือรับรองการสละสัญชาติได้เนื่องจากไม่มีสถานทูตของประเทศตนหรือไม่สามารถออกหนังสือรับรองการสละสัญชาติได้เนื่องจากขัดต่อกฎหมายในประเทศของตน ผู้อพยพต้องยื่นคำมั่นสัญญาสละสัญชาติต่างประเทศและขอรับหนังสือรับรองการสละสัญชาติชั่วคราวเพื่อจดทะเบียนบ้าน .
⑥ การคืนบัตรทะเบียนแรงงานต่างชาติ
• ผู้ยื่นคำร้องต้องคืนบัตรทะเบียนแรงงานต่างชาติให้กับทางสำนักงานบริการตรวจคนเข้าเมืองเกาหลีในท้องที่พร้อมหนังสือแจ้งแปลงสัญชาติ หนังสือรับรองความสัมพันธ์ในครอบครัว และบัตรทะเบียนบ้านภายใน 14 วันนับจากวันที่จดทะเบียนบ้าน
⑦ การจดทะเบียนบ้าน
• ผู้ยื่นคำร้องต้องแสดงหนังสือแจ้งอนุมัติแปลงสัญชาติ หนังสือรับรองพื้นฐาน และหนังสือรับรองการสละสัญชาติต่าประเทศเพื่อขอจดทะเบียนบ้านและรับบัตรทะเบียนบ้านที่สำนักงานปกครองในท้องที่
• การออกบัตรทะเบียนบ้านใหม่: กรณีที่บัตรทะเบียนบ้านหาย สามารถขอบัตรทะเบียนบ้านใหม่ได้หลังจากยื่นใบขอบัตรทะเบียนบ้านใหม่พร้อมรูปติดบัตร (3 ซม. x 4 ซม. ที่ถ่ายไว้ไม่เกินหกเดือน) กับสำนักงานปกครองในท้องที่
• การย้ายที่อยู่: ผู้อพยพต้องแจ้งที่อยู่ใหม่ให้สำนักงานปกครองในท้องที่ทราบภายใน 14 วันนับจากวันที่ย้ายที่อยู่
หลังจากแปลงสัญชาติและจดทะเบียนบ้านแล้ว ผู้อพยพจะสามารถขอรับบัตรทะเบียนบ้านได้ บัตรทะเบียนบ้านคือเอกสารประจำตัวแสดงสัญชาติเกาหลี ซึ่งจำเป็นต้องมีสำหรับการระบุตัวตนในการรายงานด้านปกครอง การออกเอกสารราชการ และการใช้บริการงานปกครอง ห้ามส่งต่อบัตรทะเบียนบ้านให้กับผู้อื่นและไม่ควรเปิดเผยหมายเลขบัตรทะเบียนบ้านให้ผู้อื่นรู้เนื่องจากจะทำให้ผู้อพยพเสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรมและการขโมยตัวตนมากขึ้น
※ ทะเบียนบ้านอาจถูกยกเลิกได้หากพบว่าผู้อาศัยที่ระบุไว้พักอยู่ที่อื่น
ผู้อพยพตามคู่สมรสอาจถูกถอดถอนสิทธิพำนักอาศัยถาวรในกรณีใดกรณีหนึ่งต่อไปนี้ .
ผู้อพยพตามคู่สมรสไม่ได้กลับเข้าประเทศเกาหลีภายในระยะเวลาที่กำหนด
ผู้อพยพตามคู่สมรสกระทำความผิดทางอาญาที่เกี่ยวกับการกบฏหรือการคุกคามความมั่นคงของชาติ
ผู้อพยพตามคู่สมรสกระทำความผิดทางอาญาในข้อหาฆาตกรรม จี้ปล้น ลักลอบค้ายาเสพติด ละเมิดกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติ ข่มขืน ความรุนแรงทางเพศ หรือการคุกคามทางเพศ
ผู้อพยพตามคู่สมรสได้สิทธิพำนักอาศัยถาวรมาโดยมิชอบหรือโดยผิดกฎหมาย
ปรากฏว่าผู้อพยพตามคู่สมรสเกี่ยวข้องกับการสมรสปลอม
ผู้อพยพตามคู่สมรสเข้าประเทศเกาหลีโดยใช้หนังสือเดินทางปลอมหรือหนังสือเดินทางของบุคคลอื่น
※ การสมรสปลอม หมายถึง การจดทะเบียนสมรสโดยไม่ได้มีเจตนาจะสมรสกันอย่างแท้จริง ซึ่งมีโทษทางอาญา ทั้งนี้กรณีคู่สมรสชาวเกาหลีใช้บริการจัดหาคู่ไม่ถือว่าเป็นการสมรสปลอมแต่อย่างใด .
กรณีคนต่อไป สามารถขอสมัครการได้สัญชาติได้ โดยเตรียมเอกสารที่จำเป็นไว้ แล้วสมัครที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง แต่ละพื้นที่ที่ตัวเองพำนัก (☎1345)
ถึงแม้ว่ากรณีที่สถานภาพอยู่ใต้ดังต่อไปก็ตาม ควรปรึกษาและสอบถามเจ้าหน้าที่ แล้วเตรียมเอกสารที่จำเป็นต้องมีให้อย่างละเอียดและระมัดระวังด้วย
① ผู้ที่พำนักอาศัยในเกาหลีนานกว่า 5ปีแล้ว
② ชาวต่างประเทศที่พ่อหรือแม่เคยเป็นประชาชนเกาหลีหรือเกิดในเกาหลีและ พำนักอาศัยในเกาหลีนานกว่า 3ปีแล้ว
③ ผู้ที่แต่งงานกับคนเกาหลีแล้ว พำนักอาศัยในเกาหลีนานกว่า 2ปีแล้ว
④ ผู้ที่พ่อหรือแม่เป็นประชาชนเกาหลี
※ กรณีผู้ที่มีพ่อหรือแม่เป็นผู้ที่แปลงสัญชาติแล้ว สามารถขอสมัครอนุญาตแปลงสัญชาติเป็นพิเศษซึ่งไม่เกี่ยวกับอายุและสภาพสมรส หรือระยะเวลาพำนักในเกาหลี.
⑤ กรณีมีกุศลพิศษในเกาหลี
① เข้ามาเกาหลีและลงทะเบียนชาวต่างด้าวแล้ว พำนักอาศัยในเกาหลีนานกว่า 2ปี อย่างถูกต้องตามกฏหมาย
② กรณีระยะแต่งงานกันมากกว่า 3ปีและ พำนักอาศัยในเกาหลีนานกว่าหนึ่งปี
③ ผู้ที่ต่งงานกับคนเกาหลีแล้ว อยู่เป็นชีวิตแต่งงานต่อไม่ได้เพราะมีเหตุผลที่ไม่ใช่ตัวเองผิดเช่นคู่สมรสเสียชีวิต หรือหายตัว และเรื่องอื่นๆที่ตัวเองไม่ผิด และพำนักอาศัยในเกาหลีนานกว่า 2ปี
④ ผู้ที่กำลังเลี้ยงดูแลบุตรผู้เยาว์หรือจะต้องเลี้ยงดูแล ซึ่งบุตรระหว่างคู่สมรสเกาหลี
ผู้อพยพตามคู่สมรสมีสิทธิ์ขอพำนักถาวรได้โดยการยื่นขอเปลี่ยนสถานะ เมื่ออยู่ในประเทศเกาหลีมานานอย่างน้อยสองปีและผ่านเกณฑ์คุณสมบัติต่อไปนี้
ผู้ยื่นคำร้องยังคงสัมพันธภาพทางการสมรสกับคู่สมรสชาวเกาหลีอยู่ คู่สมรสชาวเกาหลีเสียชีวิตหรือถูกศาลประกาศเป็นบุคคลสาบสูญ ผู้ยื่นคำร้องหย่าร้างหรือแยกกันอยู่กับคู่สมรสชาวเกาหลีด้วยสาเหตุที่พิสูจน์แล้วว่าไม่ได้เกิดจากตัวผู้ยื่นคำร้องเอง ผู้ยื่นคำร้องเลี้ยงบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะที่เกิดจากการสมรสกับคู่สมรสชาวเกาหลี ไม่ว่าในกรณีหย่าร้างหรือแยกกันอยู่
(2)เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้สำหรับการยื่นขอพำนักอาศัยถาวร
ใบขอเปลี่ยนสถานะพำนักอาศัย (F-2 → F-5)
หนังสือเดินทางหรือทะเบียนแรงงานต่างชาติ
หนังสือรับรองความสัมพันธ์ในครอบครัวและสำเนาทะเบียนบ้านของคู่สมรสชาวเกาหลี
※ กรณีคู่สมรสชาวเกาหลีสาบสูญหรือเสียชีวิต จะต้องแนบคำประกาศเป็นบุคคลสาบสูญจากศาลหรือใบมรณบัตร และกรณีที่ผู้ยื่นคำร้องหย่าร้างหรือแยกกันอยู่กับคู่สมรสชาวเกาหลี จะต้องแนบหนังสือคำตัดสินของศาลที่ระบุว่าการหย่าร้างหรือการแยกกันอยู่นั้นมีสาเหตุมาจากคู่สมรสชาวเกาหลีมาด้วย
เอกสารสิทธิ์ในทรัพย์สิน (รายการใดรายการหนึ่งต่อไปนี้)
- หนังสือรับรองเงินฝากที่แสดงว่าผู้ยื่นคำร้องหรือสมาชิกครอบครัวของผู้ยื่นคำร้องมีเงินฝากในบัญชีธนาคารจำนวน 30 ล้านวอนขึ้นไป
- สำเนาทะเบียนที่ดินหรือสัญญาเช่า
- เอกสารที่แสดงว่ามีรายได้มั่นคง เช่น หนังสือรับรองการทำงานของผู้อพยพตามคู่สมรสหรือคู่สมรส
หนังสือรับรองประวัติอาชญากรรมที่ออกโดยหน่วยงานในประเทศของผู้ยื่นคำร้อง
คะแนนการสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาเกาหลี (TOPIK) หรือประกาศนียบัตรจบหลักสูตรบูรณาการสังคมเกาหลี (KIIP) สำหรับผู้อพยพตามคู่สมรสหรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
ค่าดำเนินการ 50,000 วอน
ผู้อพยพตามคู่สมรสไม่จำเป็นต้องสละสัญชาติเดิม ผู้อพยพตามคู่สมรสมีสิทธิ์พำนักอาศัยในประเทศเกาหลีเป็นการถาวรแม้ภายหลังหย่าร้างกับคู่สมรสชาวเกาหลี ผู้อพยพตามคู่สมรสมีสิทธิ์ออกเสียงในการเลือกตั้งระดับจังหวัดสามปีหลังจากได้สิทธิพำนักอาศัยถาวร ผู้อพยพตามคู่สมรสไม่ต้องขอวีซ่ากลับเข้าประเทศเมื่อต้องการกลับเข้าประเทศเกาหลีภายในหนึ่งปีหลังเดินทางออกนอกประเทศ
เมื่อเกิดเรื่องต่อไป มีหน้าที่ต้องแจ้ง ถ้าไม่ทำ ต้องเสียค่าปรับและมีความเสียเปรียบต่อการพำนักในเกาหลีได้ เพราะฉะนั้นควรระมัดระวัง
ชาวต่างประเทศที่ได้ลงทะเบียนชาวต่างชาติแล้ว เกิดเรื่องต่อไป ต้องไปแจ้งเรื่องที่ได้เปลี่ยนภายใน 14วันจากวันที่เปลี่ยนแปลง ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง แต่ละพื้นที่ที่ตัวเองพำนัก (☎1345)
เหตุผลต้องแจ้ง
- กรณีเปลี่ยน ชื่อสกุล, เพศ, วันเกิด หรือสัญชาต
- กรณีเปลี่ยน หมายเลขหนังสือเดินทาง, วันที่ออก, วันที่หมออายุ
- กรณีเปลี่ยนชื่อสถานที่หรือสมาคมต่างๆ ที่ชาวต่างประเทศกำลังทำอยู่
① ในแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนตัว
② หนังสือเดินทาง, บัตรต่างด้าว(กรณีลงทะเบียนชาวต่างด้าวแล้ว)
③ เอกสารหลักฐาน
④ ใบแจ้งขอเปลี่ยนที่อยู่ใหม่
⑤ หนังสือเดินทาง และบัตรต่างด้าว
กรณีเปลี่ยนที่อยู่ใหม่เพราะย้านบ้านสำหรับชาวต่างประเทศที่ได้ลงทะเบียนชาวต่างชาติแล้ว ต้องไปแจ้งย้ายเข้าภายใน 14วันจากวันที่ย้าย ที่สำนักเทศบาลบุชอน(☎032-320-3000) หรือสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง แต่ละพื้นที่ที่ตัวเองพำนัก (☎1345)
ชาวต่างชาติที่มี่สถานภาพพำนักเกินกว่า 90วัน ต้องการออกประเทศภายในระยะเวลาที่พำนักอยู่ได้ แล้วเข้ามาอีกครั้งหนึ่ง ต้องแจ้งขออนุญาตและได้รับอนุญาตก่อนออกประเทศ ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองแต่ละพื้นที่ที่ตัวเองพำนัก (☎1345)
กรณีออกประเทศวันที่กำหนดวัน จะได้รับการอนุญาตที่ท่าต่างๆ ได้แต่เฉพาะครั้งเดี่ยว ซึ่งการอนุญาตเข้าประเทศอีกครั้งแบบครั้งเดี่ยว กรณีไม่ได้รับการอนุญาตเข้าประเทศอีกครั้งแล้ว ออกประเทศ หรือไม่กลับมาภายในระยะที่ให้อนุญาติแล้วนั้น ยกเลิกสถานภาพพำนักอาศัยเกาหลีได้ ควรระมัดระวัง
(2) ประเภทครั้งเดี่ยว : เข้าประเทศอีกครั้งได้แต่ครั้งเดี่ยวเท่านั้น ต่อปี หลายครั้ง : เข้าประเทศอีกครั้งได้ มากกว่า 2ครั้งต่อ 2ปี
(3) เอกสารที่ต้องมี
① ใบอนุญาตขอเข้าประเทศอีกครั้ง
② หนังสือเดินทาง, บัตรต่างด้าว(กรณีลงทะเบียนชาวต่างด้าวแล้ว)
③ เอกสารตามสถานภาพ
④ ค่าธรรมเนียม - ครั้งเดี่ยว : 30,000วอน, หลายครั้ง : 50,000วอน
จะปรับปรุงระบบการอนุญาตเข้าประเทศอีกครั้ง เพื่อสะดวกพำนักอาศัยคู่สมรสของคนเกาหลี เมื่อต้องการเยี่ยมสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เพื่อสมัครขออนุญาตพำนักเกาหลี หรือลงทะเบียนชาวต่างชาติเป็นต้น การอนุญาตเข้าประเทศอีกหลายครั้ง ได้ระยะยาวที่สุด 2ปี และยกเว้นค่าธรรมเนียม 2หมื่นวอน เป็นฟรี
ชาวต่างชาติ(ยกเว้นคนที่มีวีซาระยะสั้น)ที่ต้องการทำกิจกรรมนอกเหนือจากสถานภาพที่ได้รับอนุญาติต้องได้รับอนุญาติ ในการทำกิจกรรม นอกเหนือจากสถานภาพที่ระบุไว้ก่อน ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองแต่ละพื้นที่ที่ตัวเองพำนัก (☎1345)
ในกรณี นักศึกษาต่างประเทศ(D-2)ต้องการทำงานพาร์ทไทม์ ในกรณีคนที่มีสถานภาพสอนศาสนา(D-6) ต้องการสอนที่มหาวิทยาลัย(E-1)
(2) เอกสารที่ต้องมี
① ใบคำขอเปลี่ยนสถานภาพพำนักอาศัย
② หนังสือเดินทาง, บัตรต่างด้าว(กรณีลงทะเบียนชาวต่างด้าวแล้ว)
③ เอกสารตามสถานภาพ
④ ค่าธรรมเนียม 50,000ว็อน (กรณี D-2 กับ F-2 30,000วอน)
ชาวต่างชาติที่จะทำกิจกรรมนอกเหนือจากสถานะที่กำหนดไว้ ให้แจ้งขออนุญาติเปลี่ยนสถานะของการพำนักก่อนที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง แต่ละพื้นที่ที่ตัวเองพำนัก (☎1345).
ผู้ที่เข้าประเทศโดยวีซ่าระยะสั้น(C-2)แล้ว จะลงถุนในประเทศเกาหลี (D-8) นักเรียนฝึกอบรมด้านภาษา(D-4) จะเข้าเรียนมหาวิทยาลัยตามหลักสูตรปกติ เป็นนักศึกษาต่างประเทศ(D-2) กรณีชาวต่างประเทศแต่งงานกับคนเกาหลี (F-2)
(2) เอกสารที่ต้องมี
① ใบคำขอเปลี่ยนสถานภาพพำนักอาศัย
② หนังสือเดินทาง, บัตรต่างด้าว(กรณีลงทะเบียนชาวต่างด้าวแล้ว)
③ เอกสารตามสถานภาพ
④ ค่าธรรมเนียม 50,000ว็อน
ชาวต่างด้าวที่ต้องการจะขอขยายเวลาพำนักอาศัยในประเทศเกาหลี ต้องรับอนุญาตขยายเวลาจากสำนักตรวจคนเข้าเมือง(☎1345)ก่อนตั้งแต่ 2 เดือนก่อนกำหนดเวลาหมดจนถึง วันที่หมดเวลา เมื่อเกินเวลาต้องเสียค่าปรับเพราะฉะนั้นต้องระมัดระวังการเข้าเมืองโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะไม่ได้ขอขยายเวลา พำนักอาศัยอยู่เกินเวลา
(2) เอกสารที่ต้องมี
① ใบคำขอเปลี่ยนสถานภาพพำนักอาศัย
② หนังสือเดินทาง, บัตรต่างด้าว(กรณีลงทะเบียนชาวต่างด้าวแล้ว)
③ เอกสารตามสถานภาพ
④ ค่าธรรมเนียม 30,000ว็อน
ต้องแนบเอกสารต่อไปนี้เพิ่มเติมจากเอกสารที่ระบุไว้ข้างต้น
- หนังสือรับรองความสัมพันธ์ในครอบครัวของคู่สมรสชาวเกาหลี
-สำเนาทะเบียนบ้านของคู่สมรสชาวเกาหลี
กรณีที่ผู้อพยพตามคู่สมรสหย่าร้างโดยความยินยอมเนื่องจากได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมจากคู่สมรสชาวเกาหลี จะไม่สามารถพิสูจน์ได้โดยชัดแจ้งว่าการหย่าร้างดังกล่าวมีสาเหตุมาจากอีกฝ่าย ทำให้อาจไม่สามารถต่อวีซ่าได้ ดังนั้นผู้อพยพควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญจะดีที่สุด
กรณีที่ผู้อพยพตามคู่สมรสเป็นฝ่ายยื่นฟ้องหย่า จะได้รับการต่อวีซ่าทุกสามเดือน เมื่อคู่สมรสชาวเกาหลีข่มเหงทารุณผู้อพยพหรือเพิกถอนการเป็นบุคคลอ้างอิงทำให้ไม่สามารถอ้างอิงถึงคู่สมรสได้ ผู้อพยพสามารถขอรับคำปรึกษาได้จากศูนย์บริการผู้อพยพในท้องที่ ศูนย์ช่วยเหลือสตรี และศูนย์ครอบครัวพหุวัฒนธรรม
การขอและการออกสำหรับการลงทะเบียนชาวต่างด้าว ทำที่สำนักคนเข้าเมืองแต่ละพื้นที่ที่อาศัยอยู่
สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงยุติธรรม : ☎1345, http://www.immigration.go.kr สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง อินชอน : ☎032-890-6300, 1-31 ฮังโดง 7 กา จูงกู อินชอน
สำนักคนเข้าเมือง กระทรวงยุติธรรม มีงานทำในการขยายเวลาต่อวีซา, การเปลื่ยนสถานภาพการพำนัก, การทำกิจกรรมนอกเหนือจากสถานภาพการพำนัก, การเปลี่ยนหรือเพิ่มที่อยู่สถานที่ประกอบการ, การมอบสิทธิคุณสมบัติ, การขอขยายเวลาการพำนัก, การอนุญาตเข้าประเทศอีก, การลงทะเบียนชาวต่างประเทศ, การยอมรับผู้ลี้ภัย และไล่ที่ หรือบังคับสำหรับชาวต่างประเทศที่ได้เกินระยะพำนัก
(1) ลงทะเบียนชาวต่างด้าวตามระยะแบ่งเป็นสามอย่าง, พำนักระยะสั้นซึ่งต่ำกว่า 90วัน พำนักระยะยาวซึ่งมากกว่า91วัน สุดท้ายก็เป็นพำนักถาวร นับตั้งแต่วันที่เข้าประเทศ ชาวต่างชาติที่จะเข้ามาพำนักเกินกว่า 91วัน ต้องไปแจ้งที่อยู่และลงทะเบียนชาวต่างด้าวที่กรมการตรวจคนเข้าเมืองก่อนครบ 90 วัน
(2) วิธีการออกบัตรต่างด้าวการออกบัตรต่างด้าว ใช้เวลา 7-10วันตามแต่ละสำนักงานดำเนินการ หลังจากระยะ7-10วัน ไปเอาที่สำนักงาน หรือจะได้รับที่สถานที่อาศัยอยู่โดยเสียค่าส่ง(3000วอน)